April 30, 2020
ในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้เทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัด หลักๆ คือเรื่องของอาหาร การกิน และการทำงาน เราจะมาไล่ดูกันทีละหัวข้อของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในสถานการณ์ Social Distance ในตอนนี้กันค่ะ
ก่อนหน้านี้หลายคนอาจยังไม่ชินกับเทคโนโลยีออนไลน์ที่แทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันเท่าไรนัก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้ Social Distance แบบนี้ ทำให้ทุกคนเริ่มปรับตัวและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีมากขึ้น ในด้านของผู้ประกอบการเองก็คงต้องทำความรู้จักกับ Digital Transformation เพื่อพาองค์กรฝ่าวิกฤติไปสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างเต็มตัวเช่นกัน
ในเวลาที่สถานการณ์ไม่แน่นอน หลายคนต้องการติดตามข่าวสารที่น่าเชื่อถือ เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงจากภัย COVID-19 จึงมีแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์มากมายที่สร้างขึ้นมาเพื่อติดตาม และให้ข้อมูลสถานการณ์โรคระบาดโดยเฉพาะ เช่น สสส มีแอป “ใกล้มือหมอ” ที่สามารถวินิจฉัยโรคได้เบื้องต้น, DDC-Care คือ แอปที่เปิดการติดตามผู้เสี่ยงติดโควิด เมื่อใครเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง จะต้องทำการลงทะเบียนติดตั้งแอป DDC-Care เพื่อรายงานสุขภาพ และการเดินทางเป็นเวลา 14 วัน เป็นต้น โดยนอกจาก 2 แอปพลิเคชั่นที่ยกตัวอย่างมาแล้ว ยังมีอีกหลายแอปพลิเคชั่นที่ทำงานคล้ายคลึงกันคือการติดตามกิจกรรม และอาการของกลุ่มเสี่ยง เช่น AOT Airport, SydeKick, COVID-19 tracker ซึ่งทุกคนสามารถโหลดมาไว้ติดเครื่องเพื่อช่วยวางแผนในการลดความเสี่ยงจาก COVID-19 ได้เลยค่ะ
หลายองค์กรที่ปรับตัวมา Work From Home จะต้องมีแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานเพิ่มเติม จากเดิมที่มีเพียง E-Mail และ Line ไว้คุยงานและส่งงานกัน หรือบางองค์กรอาจใช้ ผลิตภัณฑ์ของ Google ในการจัดการเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Drive, Google Slide, Google Sheet หรือ Google Docs ซึ่งนอกจากการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญที่จำเป็นเมื่อทีมงานอยู่ไกลกันนั้นก็คือการประชุมงาน ปัจจุบันมีบริการที่สามารถสร้าง Group Call ได้หลายตัว ซึ่งนอกจากการวิดิโอคอลผ่าน Line หรือการใช้ Hank Out แล้ว ในช่วงนี้ยังมีแอปพลิเคชั่น Zoom ที่มาแรง ด้วยลูกเล่นที่สามารถเปลี่ยนฉากหลังได้อย่างสนุกสนาน ทำให้การประชุมไม่เครียดจนเกินไป เชื่อว่าทุกคนที่เปลี่ยนมาทำงานที่บ้านช่วงนี้จะต้องคุ้นหูกันบ้างสักแอปล่ะค่ะ
ในภาวะเคอร์ฟิวที่ร้านอาหารทุกร้านห้ามเปิดให้ลูกค้านั่งทานในร้าน อีกทั้งยังจำกัดเวลาปิดร้านอาหารแบบนี้ ภารกิจในการส่งอาหารถึงทุกครัวเรือนก็ตกเป็นหน้าที่ของ Food Delivery Service ไปโดยปริยาย ทำให้แอปสั่งอาหารออนไลน์มีความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นระหว่างแอปสั่งอาหารอย่าง Grab, Line Man, Foodpanda, Get และการส่งสินค้าออนไลน์อื่นๆ เช่นกัน ใครที่อยู่ในธุรกิจอาหารออนไลน์ช่วงนี้ไม่มีตกงานแน่ แม้ว่าช่วงเวลาในการทำงานจะน้อยลง แต่เชื่อว่าทุกคนเรียกใช้บริการกันอย่างหนาแน่นตลอดเดือนเมษายนแน่นอน
ความสุขของบางคนคือการได้เดินดูของไปเรื่อยๆ ซื้อบ้าง ไม่ซื้อบ้าง แต่เมื่อไปเดินห้างและตลาดไม่ได้ งั้นเปิดแอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์จิ้มเลยละกัน ในช่วงนี้ไปรษณีย์คงต้องทำงานหนักกันหน่อย เมื่อเทคโนโลยีการช็อปปิ้งกดซื้อได้ทันทีแค่ปลายนิ้วจิ้ม อีกทั้งยังสะดวกชำระปลายทางอีก บางทีส่งเร็วมากสั่งวันนี้ ถึงพรุ่งนี้ ทันใจไม่ต้องรอ เลือกเอาได้เลยมีหลายแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น Shoppee, Lazada, JD Central ที่กระหน่ำโปรออกมาสู้กันอย่างไม่มีใครยอมใคร สำหรับแม่ค้าที่เปิดแผงขายไม่ได้ ก็ต้องพากันปรับตัวให้ทันตามเทคโนโลยีกันแล้วนะคะ
กิจกรรมยอดฮิตของหลายคนในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์นั้นก็คือการไปดูหนังที่โรงภาพยนต์ นอกจากเป็นเวลาของครอบครัวแล้ว ยังเป็นที่เดทของใครหลายคนด้วย แต่เมื่อไม่สามารถไปดูหนังที่โรงภาพยนต์ได้ ในยุคออนไลน์แบบนี้จึงมีบริการสตรีมมิ่งออนไลน์ออกมาให้ทุกคนเลือกดูซีรีส์ หรือหนังที่ชอบได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องรอเวลา แม้ว่าจะไม่ได้บรรยากาศเหมือนดูในโรงภาพยนต์ แต่เราสามารถดูคอนเทนต์ได้หลากหลาย และไม่จำกัดเพียงชำระเงินรายเดือน ซึ่งมีหลายแบรนด์ให้เลือกตามความชอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Netflix, VIU, AIS Play, Line Tv, HBO Go ที่ตีตลาดแข่งกันในไทย หรือใครจะข้ามไปดูสตรีมมิ่งจากโซนต่างประเทศก็ยังมี Prime Video, Disney+ ให้เลือกได้อีก บริการสตรีมมิ่งถือเป็นตัวเลือกบนแพลตฟอร์มใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปจากเดิม ทำให้ผู้ประกอบการหนังและโทรทัศน์ต้องพากันปรับตัวขนานใหญ่เลยทีเดียว
It’s been a while since Covid-19 pandemic has been spreading in our society, and it absolutely changes the way we are living life. Therefore, this situation makes it inconvenient and unwieldy for us all to travel while this pandemic is still going on. However, in this era, modern technology allows us to travel while we are sitting in our room with gadgets like tablets, mobile phones, or computers.
Read Moreผ่านไปแล้วกับ MSTCI Fall 2020, First Round Interview และนี่คือบรรยากาศการสัมภาษณ์นักศึกษาที่เป็นกันเองในแบบเรียนไป เล่นไป ทำงานไปเพียงแค่การสัมภาษณ์เข้าโครงการ นักศึกษาก็มีโอกาสได้ฟังไอเดียที่ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ ของผู้เชี่ยวชาญในโครงการ MSTCI กลับไปเป็นข้อคิด และแรงบันดาลใจ ได้แล้ว!
Read Moreช่วงนี้ไม่ค่อยได้ออกไปไหน หลายคนเปิด Youtube ดูคลิปเป็นการผ่อนคลาย เหล่านักท่องยูทูปทั้งหลายต้องเคยได้ยินคำว่า ASMR ที่เราเห็น Youtuber และเหล่าเซเลปนิยมอัดคลิปเสียงกระซิบ หรือชิมอาหาร ซึ่งกระแส ASMR Fever เป็นสิ่งที่ Creator แจ้งเกิดตัวเองในวงการหลายคน และมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา จาก Google Trend จะเห็นว่าผลการค้นหาคำว่า #ASMR จาก Youtube เริ่มเป็นเทรนด์ที่ชัดเจนตั้งแต่ปลายปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการเซิร์จหาคำว่า ASMR มากที่สุด ASMR เป็นปรากฎการณ์การตอบสนองของความรู้สึกเมื่อเราได้ยิน มองเห็น หรือสัมผัสอะไรบางอย่าง แล้วรู้สึกผ่อนคลาย โดย ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response ซึ่งตัวอย่าง ASMR ที่อยู่รอบตัวเรา มีตั้งแต่ เสียงฝนตก เสียงคลื่นกระทบฝั่ง การถูกลูบหัวเบา ๆ สัมผัสแตกเป๊าะแป๊ะในปากเวลาเรากินลูกอมเป๊าะแป๊ะ หรือแม้แต่แค่การที่เรามองดูผู้คนเดินไปมาริมหน้าต่างร้านกาแฟแล้วรู้สึกเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทั้งหมดล้วนเป็นปรากฏการณ์ ASMR ด้วยกันทั้งนั้น สำหรับแนวทางของงานบันทึกเสียงโดยส่วนมากแล้วมีด้วยกัน 3 แนวทางหลัก มาดูกันเลยค่ะว่าแต่ละแนวทางแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
Read Moreในหลักสูตร MSTCI Program เราได้เล็งเห็นความสำคัญตั้งแต่พื้นฐานแรกเริ่ม ที่จะนำไปสู่การผสมผสานเทคโนโลยีและงานบันเทิงเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ ที่สามารถนำไปใช้ในการทำงานเป็นทีมเพื่อเสนอผลงานต่อลูกค้าได้จริง
Read Moreหลักสูตรปริญญาโทสาขา Technology and Creative Innovation (MSTCI) เปิดให้ทุนแก่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ ทั้งผู้ที่ยังเป็นนักศึกษาในปัจจุบัน และ Professional จากสาขาที่หลากหลาย เข้ามาเป็นนักเรียน EIC ใน Cohort Fall 2022 ที่จะถึงนี้ พร้อมมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้าง Entertainment Innovation Lab ไปพร้อมกับอาจารย์และนักวิจัยแนวหน้าของประเทศ!
More Scholarship Info