May 23, 2023
วันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากมาย หรือแม้แต่สิ่งเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยก็อาจถูกอัพเกรดให้เป็นเวอร์ชั่นที่เจ๋งที่สุดที่เคยมีมา ทำให้เราตื่นตาตื่นใจได้แทบทุกปี
Technology and Creative Innovation คือหนึ่งในแวดวงที่มีสิ่งใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่คนทั้งโลกจับตามองและให้ความสนใจอยู่เสมอวันนี้คุณคามิน ภัคดุรงค์ Creative Technologist และอาจารย์จากโปรแกรม Technology and Creative Innovation (MSTCI) CMKL University จะมาอัพเดทเทรนด์ในแวดวง Entertainment Innovation ในปี 2020 ให้เราฟังกันว่า ปีหน้าเทคโนโลยีใดจะเข้ามามาอยู่ในชีวิตเราแบบเต็มตัว สิ่งใหม่ๆ ที่จะช่วยยกระดับสื่อบันเทิงให้เราเสพมีอะไรบ้าง ไปดูกัน!
อย่างที่เราเห็นกันเลยว่าในช่วงปีนี้เป็นปีที่บริการ streaming แข่งขันกันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็น music หรือ movie โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวง movie และ series ที่แต่เดิมเจ้าใหญ่มีเพียงไม่กี่เจ้า อาทิ Netflix, HBO, Amazon, Hulu แต่ไม่นานมานี้เราจะได้เห็นบริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Disney มาเล่นในตลาดนี้ด้วยเช่นกันกับการลงทุนใน streaming platform ของตัวเองที่ชื่อ Disney+
และในปี 2020 หนึ่งใน streaming ที่น่าจับตามองคือ Google Stadia ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คือบริการ streaming gaming platform จาก Google ที่จะเข้ามายกระดับวงการเกมขึ้นไปอีกขั้น เพราะแต่เดิมหากพูดถึงการเล่นเกม เราจะต้องมี device ที่ทำหน้าที่เป็น hardware แรงๆ เพื่อรันเกมที่มีกราฟิกความละเอียดสูงได้ ไม่ว่าจะเป็น PC, console หรือ smartphone แต่การมาของ Google Stadia จะทำให้เราไม่ต้องมี hardware มารองรับในการเล่นเกมอีกต่อไป เพียงมีแค่ controller และ Internet ความเร็วสูงที่มีความเสถียรมากพอ ตัวเกม การควบคุม และกราฟิกทุกอย่างจะรันอยู่บน server farm โดยแสดงผลแบบ streaming ทุกอย่างมาพบหน้าจอทีวี คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งมือถือของคุณ สิ่งนี้เองที่ทำให้การเล่นเกมไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์สเปคสูงราคาแพงอีกต่อไป แต่ก็สามารถเล่นเกมกราฟิกคุณภาพระดับ Full HD หรือ 4K 60fps ได้ลื่นไหลเช่นเดียวกัน และที่สำคัญคือ ไม่ต้องเสียเวลา download และ install เกมในเครื่องของเราให้เปลืองพื้นที่ hard drive
การมาถึงของ 5G ในอนาคต ก็จะส่งผลโดยตรงให้คนสามารถเข้าถึงบริการ streaming ได้ง่ายและรับประสิทธิภาพจากบริการได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และเมื่อคนเข้าถึงคอนเทนต์ได้ง่ายและมีจำนวนมากยิ่งขึ้น โอกาสที่ creator จะสร้างผลงานให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ ก็จะมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ในปีหน้าสิ่งที่ AI หรือ Artificial Intelligence จะเข้ามาช่วยเหล่า creator ได้โดยตรงผ่านรูปแบบของ tools ต่างๆ ที่ใช้สร้างผลงาน ซึ่งช่วยให้ creator ลดเวลาในการทำงานลงได้
ที่เพิ่งเปิดตัวไปในปีนี้ก็มี AI จาก Adobe ที่รู้จักกันในชื่อ Adobe Sensei ในโปรแกม Adobe Premiere Pro ที่มีฟีเจอร์ Auto Reframe สามารถปรับขนาดอัตราส่วนของวิดีโอสำหรับโพสต์ลงโซเชียลแอปต่างแพลตฟอร์มได้อัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องมาเสียเวลาปรับขนาดและเลื่อนเฟรมภาพ โดย AI จะเก็บอัลกอริทึม objective ที่เคลื่อนไหวในวิดีโอ และติดตามการเคลื่อนไหวของ objective นั้นๆ ทำให้เมื่อเปลี่ยนอัตราส่วนเฟรม objective ที่ต้องการก็ยังคงอยู่ในเฟรม ช่วยประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก
หรือ ในโปรแกรม Adobe Photoshop ที่ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็จะมี AI ที่สามารถช่วยตรวจจับภาพต่างๆ ว่าผ่านการ Photoshop ตัดแต่งหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในภาพมาหรือไม่ เรียกได้ว่าในปีข้างหน้า AI จะเข้ามาช่วยให้เหล่า creator ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ทำให้เหลือเวลาไปโฟกัสกับงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้นแน่นอน
ในวงการเกม นอกจากกระแส cloud gaming หรือ streaming gaming แล้วนั้น ในแง่ของงานด้านภาพกราฟิกหรือ visual ต่างๆ ก็ยังเป็นสิ่งที่ game developer ให้ความสนใจและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในวงการเกมและ E-sports ก็คือการนำเทคโนโลยี holograms เข้ามาเพิ่มประสบการณ์ในการเล่นเกมและการรับชม E-sports
ในช่วงปลายปีนี้ ในพิธีเปิดรอบไฟนอลของอีเวนท์ E-sports ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกของ League of Legends (LOL) ของค่าย Riot ก็ได้มีการนำคาแรกเตอร์ในเกมมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับศิลปิน เป็นการผสมผสาน holography เข้ากับ choreography ได้อย่างกลมกลืน ซึ่งก่อนหน้านี้ Riot ก็เคยเล่นใหญ่มาแล้วกับการนำ holograms ฉายภาพมังกรบินในสเตเดียม เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชมได้มากมายเช่นเดียวกัน
ในปีหน้า ผู้คนทั่วไปจะให้ความสนใจและเริ่มคุ้นเคยกับการเสพงานศิลป์แบบ Interactive Art หรือ Interaction Design มากขึ้นในชีวิตประจำวัน งานประเภทนี้จะทำให้การเสพศิลปะไม่ใช่เรื่องที่เข้าถึงยากอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยี projection mapping ที่นำเข้ามาใช้ในการแสดงผลงาน รวมไปถึงการใช้ sensor และ Immersive Technology (IMT) เข้ามาช่วยเปิดประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ ทำให้ผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์มีส่วนร่วมกับงานมากขึ้นกว่าการรับชมด้วยตาเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากโซนเอเชียก็คือ Teamlab จากญี่ปุ่น หรือถ้าเป็นตัวแทนฝั่งอเมริกา ก็คงต้องยกให้ Artech House ทั้งสองที่คือพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลที่รวบรวมงาน Interactive Art เอาไว้มากมาย ที่ Artech House เองนั้น เพิ่งจบงานจัดแสดงชื่อ #Lucidmotion ไป ซึ่งเป็นงานที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ศิลปะในรูปแบบของตัวเอง โดยมี sensor จับลักษณะทางกายภาพของผู้เข้าชม และนำไปสร้าง Immersive Experience เชื่อมโลกเสมือนจริงกับโลกแห่งความจริงเข้าด้วยกัน ให้เราเห็นเป็นคาแรกเตอร์ของตัวเองโลดแล่นอยู่บนจอ
Extended Reality (XR) คือเทคโนโลยีที่เรียกรวมโลกเสมือนจริงทุกประเภทไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Augmented Reality (AR), Virtual Reality (VR), Mixed Reality (MR) เป็นการสร้างโลกเสมือนจริงแบบไร้ขีดจำกัด โดยสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือทำให้เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับเครือข่าย รวมไปถึงติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานคนอื่นๆ ได้ และทำให้โลกเสมือนจริงกับโลกแห่งความจริงไร้รอยต่อในการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งนี่เป็นเทคโนโลยีสุดฮอตที่ถูกนำไปใช้ในหลายธุรกิจ อาทิ เพิ่มประสบการณ์ช้อปปิ้งด้วยการจำลองการใช้สินค้าเสมือนจริงก่อนซื้อ หรือทางการแพทย์ใช้การจำลองสแกนร่างกายคนไข้ เพื่อวิเคราะห์โรคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนในทางวิศวกรรมนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง prototype อีกต่อไป ในเมื่อขึ้นรูปจำลองจากวัสดุเสมือนจริงได้เลย
ในปี 2020 ก็จะเป็นอีกปีที่แวดวง Entertainment เกิดการ disrupt กันเองจากบริษัทผลิตสื่อยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะในแง่ของ distribution หรือ channel ในการเข้าถึงต่างๆ ใครที่สามารถสร้างนวัตกรรมเป็นแพลตฟอร์มที่คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ก็จะมีโอกาสแจ้งเกิดได้ และในส่วนของ creator เอง ก็มีโอกาสจะสร้างผลงานที่คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ แต่ผลงานนั้นต้องมีความ unique และให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ และในขณะเดียวกันก็ต้องมีความ universal ที่เข้าใจง่าย ไม่ใช่ตอบโจทย์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น
CMKL University เปิดรับนักศึกษาในหลักสูตร MSTCI! ปริญญาโทด้านนวัตกรรมการบันเทิง Technology and Creative Innovation (MSTCI) มุ่งพัฒนาศักยภาพด้านงานบันเทิง ที่ผสมผสานเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน พร้อมสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานแห่งโลกอนาคต!
Read MoreThe word ‘new normal’ can be defined as the changes of human behaviors and activities. There are many industries forced to overcome this unexpected catastrophe and challenge it as a golden opportunity to create something new; an art & culture industry is one of them. Places like art galleries and historical museums have to revolutionize the way people interact in the new normal era by utilizing cutting-edge technology – ‘Virtual Tour’.
Read MoreMSTCI Thailand จะพานักศึกษาทุกคนลงสนามจริงด้วยการทำ “Capstone Project” แก้ปัญหาให้อุตสาหกรรมจริง ร่วมกับองค์กรระดับประเทศเหล่านี้อย่างใกล้ชิด! ทุกทีมจะได้รับโอกาสนำเสนอไอเดียต่อผู้บริหาร รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และนำจินตนาการของตัวเองมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้าน entertainment technology ชั้นนำทุกคน
Read Moreมารู้จักกับ MSTCI ผ่านบทสัมภาษณ์จาก Industry Partners! — หลังจากเต็มอิ่มกับการเรียนภาคทฤษฎีในเทอมแรกแล้ว MSTCI จะพานักศึกษาทุกคนลงสนามจริงด้วยการทำ “Capstone Project” แก้ปัญหาให้อุตสาหกรรมจริง ร่วมกับองค์กรระดับประเทศเหล่านี้อย่างใกล้ชิด!
Read Moreหลักสูตรปริญญาโทสาขา Technology and Creative Innovation (MSTCI) เปิดให้ทุนแก่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ ทั้งผู้ที่ยังเป็นนักศึกษาในปัจจุบัน และ Professional จากสาขาที่หลากหลาย เข้ามาเป็นนักเรียน EIC ใน Cohort Fall 2022 ที่จะถึงนี้ พร้อมมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้าง Entertainment Innovation Lab ไปพร้อมกับอาจารย์และนักวิจัยแนวหน้าของประเทศ!
More Scholarship Info